พรหมัน

พรหมันคือความเป็นจริงสูงสุด เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่มีรูปร่าง ไร้ขีดจำกัด เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่มาและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล

โอม ทัต สัต เอคังเอวะอัตวิตยังพรหมัน แปลว่า พระผู้เป็นเจ้าอยู่แต่ผู้เดี่ยวไม่มีสอง (คัมภีร์อุปนิษัท ๖.๒.๑) โอม เอคัง สัต วิปฺประ พหุตะ วะทันติ แปลว่า พระผู้เป็นเจ้าอยู่เป็นผู้เดี่ยวแต่โดยพระฤษีหลายองค์ผู้มีความรู้ก็จะเรียกท่านกับหลายชื่อ (ฤคเวท ๑.๑๖๔.๔๖) เอโกนะรายณะนะทวิตฺโยสฺติกัสจิต แปลว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นผูนำผู้เดี่ยวไม่มีสอง (กายาตรีมนต์ มณฑล ๓ มาลา ๕)

คุณสมบัติของพระผู้เป็นเจ้าในภาษาสันสกฤตคือตรีบุรุษะ
  • ปะระมะศิวะ
  • สะทะศิวะ
  • ศิวาตมัน
คัมภีร์อุปนิษัทระบุว่าสรรพสัตว์รับรู้พรหมันได้ในสองลักษณะ คือ
  • นิรคุณพรหมัน เป็นพรหมันที่ไม่อาจกำหนดคุณลักษณะใดๆ ได้ เป็นสิ่งสุงสุด เป็นสัจจิทานันทะ (ความจริง-ความรู้-ความสุข) เรียกอีกอย่างว่าปรพรหมัน และ
  • สคุณพรหมัน เป็นพรหมันที่กำหนดคุณลักษณะต่างๆ ได้ เรียกอีกอย่างว่า อปรพรหม พระอิศวร หรือพระเป็นเจ้า
ปรัชญาพราหมณ์แต่ละสำนักอธิบายลักษณะของพรหมันแตกต่างกันไป
  • ฝ่ายอไทฺวตะ เวทานตะ ตีความว่า นิรคุณพรหมันเท่านั้นเป็นพรหมันแท้ ส่วนสคุณพรหมันเป็นพรหมันเทียม เพราะเป็นพลังที่ออกมาจากนิรคุณพรหมันเพื่อมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโลกเท่านั้น โดยพลังในทางสร้างเรียกว่าพระพรหม พลังทางธำรงรักษาเรียกว่าพระวิษณุ พลังในทางทำลายล้างเรียกว่าพระศิวะ พลังทั้งสามนี้เรียกโดยรวมว่าตรีมูรติ
  • ฝ่ายวิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะ อธิบายว่า นิรคุณพรหมันและสคุณพรหมันเป็นพรหมันแท้อันเดียวกัน เพียงแต่มี 2 ลักษณะ
ชะธุศักติ

แปล่ว่าศักยภาพสี่ประการของพระผู้เป็นเจ้า
  • วิภูศักติ พยาบิพยาบะกะ แปล่ว่าพระผู้เป็นเจ้าอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง และ อุตะโปรตะ เหมือนกับไฟอยู่ในไม้เหรือน้ำมันอยู่ในน้ำกะทิ
  • พระภูศักติ มีอำนาจทุกอย่าง อุตบดิ สามารถทำให้ทุกอย่างรังสรรค์ได้ สธิติ สามารถป้องกันทุกอย่างได้ และ ประลีนะ สามารถทำให้ทุกอย่างละลายได้
  • ญาณะศักติ รู้จักทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอดิต ปัจจุบัน และ อนาคต
  • กฤยะศักติ สามารถทำทุกอย่างที่สัตว์ในโลกทั้วไปทำไม่ได้
อษฎทาล

แปล่ว่าสัญลักษณ์แปดถึงความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า
  • อณิมา ความสามารถเพื่อจะทำให้ตัวเองเป็นเล็กน้อยกว่าอนุภาค
  • ละคิมา เบาและเรียบเรียง
  • มหิมา คุ่มครองทุกสิงทุกอย่าง
  • ปราพติ บรรลุทุกสิ่งทุกอย่าง
  • ประกำยะ จะทำก็จะทำไม่มีใครสามารถห้ามได้
  • อิชิตวะ จัดการทุกสิ่งทุกอย่างในสามโลกและ
  • วะชิตวะ ไม่มีใครสามารถเอาชนะได้
  • ยัตระกะมะวะสะยิตวะ เกรียงไกร
อ้างอิง
  • ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 13
  • ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 114-5
  • มนต์และศฺลอกเรื่องพระผู้เป็นเจ้า ภาษาอินโดนิเซิย (บ็อค)
  • การศึกษาครูวายรุ่น เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย (บ็อค)